วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อาหารประเทศสิงคโปร์

 
ลักสา (Laksa)  

                       ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย 
           น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง ลักชามีหลายประเภททั้งแบบที่
           ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ
 
 

ปูพริก
                            ปูพริก เป็นอาหารสิงคโปร์แท้ ๆ ดั้งเดิมโดยพ่อครัวชาวสิงคโปร์ที่ชื่อว่า  CherYam ในปี ค.ศ. 1950 สามารถ
            พบ
ได้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ แม้ปูพริกจะชื่อว่าปูพริกแต่ก็รสชาติไม่เผ็ดมาก
                                                         

อาหารประเทศพม่า


                                                                                                หล่าเพ็ด (Lahpet)

                              หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว 
              ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงบ้านเรานั่นเอง หล่าเพ็ดเป็นจานที่
              ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ว่ากันว่าไม่มีงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลองใดจะสมบูรณ์ได้หากไม่มี
              อาหารยอดนิยมอย่างหล่าเพ็ด




ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) 

                           ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) คือขนมจีนน้ำยาที่ทำจากปลา ไม่มีกระทิ จะเรียกว่าน้ำยาป่าก็ได้ ชาวพม่า
              จะทาน Mo Hin Ga กันในตอนเช้า ร้าน Mo Hin Ga ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผงลอย อยู่ตามข้างถนน ราคาก็ชามละ
              200 - 500 จัต  (ประมาณ 6 - 15 บาท) ถ้า 500 จัตก็จะเป็น Mo Hin Ga ในร้าน ตามโรงแรม 5 ดาว บางวันอาจจะมี
              Mo Hin Ga  เป็นอาหารเช้าด้วย น้ำยา Mo Hin Ga จะใช้ปลาน้ำจืดเป็นหลักพวก ปลาดุก ปลาช่อน ผักที่ใส่ในน้ำยา
              ก็จะเป็น หยวกกล้วยและใช้พวกแป้งถั่ว (Chickpea floor) หรือ ข้าวคั่วเพื่อทำให้น้ำแกงข้น จากนั้นก็โรยหน้าด้วย
              ถั่วเหลืองทอด ไข่ต้ม  ปลาเส้นทอด 
ปลาท่องโก๋ ผักชี ปรุงรสด้วยพริกป่น และมะนาว

อาหารญี่ปุ่น

อาหารญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น日本料理 หรือ 和食 nihon ryōri หรือ washoku ?) ในคำจำกัดความปัจจุบัน หมายถึง อาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่นก่อนการสิ้นสุดการปิดประเทศหรือซะโกกุ (鎖国 Sakoku) เมื่อค.ศ. 1868 แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นนั้นจะรวมถึงอาหารที่ใช้ส่วนผสมและวิธีการทำอาหารซึ่งรับมาจากต่างประเทศภายหลังการเปิดประเทศ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ได้ประยุกต์ให้เข้ากับตนเอง อาหารญี่ปุ่นนั้นมีชื่อเสียงด้านการเน้นอาหารตามฤดูกาล (旬shun) คุณภาพของวัตถุดิบ และการจัดวาง
อาหารญี่ปุ่นถูกพัฒนามานานหลายศตวรรษ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองในประเทศ อาหารญี่ปุ่นถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเข้าสู่สมัยกลางซึ่งเป็นยสมัยที่ญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบอบศักดินาอันนำโดยโชกุน ต่อมาในช่วงต้นยุคใหม่หลังการเปิดประเทศ ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีอิทธิพลทำให้วัฒนธรรมการกินของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

อาหารญี่ปุ่นในปัจจุบัน[แก้]

อาหารญี่ปุ่นอยู่บนพื้นฐานของการจัดสำรับอันประกอบด้วยอาหารจานหลัก (主食 shushoku) โดยเป็นข้าวหรืออาหารเส้น ซุป และกับข้าวหรือโอะกะซุ (おかずokazu) ซึ่งทำจาก ปลา เนื้อสัตว์ ผักและเต้าหู้ ปรุงรสด้วยดะชิ (หัวเชื้อน้ำซุป) มิโซะ (เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น) และโชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) ทำให้อาหารญี่ปุ่นส่วนมาก มีไขมันต่ำ แต่มีปริมาณเกลือสูง
สำรับอาหารญี่ปุ่นมาตรฐานประกอบด้วยกับข้าวอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ข้าวญี่ปุ่น (御飯 gohan) หนึ่งชาม ซุปหนึ่งถ้วย และผักดองหรือสึเกะโมะโนะ (漬物 tsukemono) เป็นเครื่องเคียง
สำรับญี่ปุ่นมาตรฐานส่วนมาก จะใช้เทคนิคการจัดที่เรียกว่า อิชิจู-ซันไซ (一汁三菜 ichijū-sansai) หรือซุปหนึ่งอย่างกับข้าวสามอย่าง กับข้าวนำมาจัดสำรับจะปรุงด้วยหลากหลายวิธี ทั้งแบบดิบ (ซะชิมิการย่าง การตุ๋นหรือการต้ม การนึ่ง การทอด การดอง หรือการยำ (สลัด) มุมมองของคนญี่ปุ่นต่ออาหารนั้นถูกสะท้อนในการจัดบทในตำราอาหารโดยจะจัดแยกตามวิธีการปรุงอาหาร ไม่ได้จัดตามประเภทวัตถุดิบ หรืออาจจัดเป็นแยกเป็นประเภท ซุป ซูชิ ข้าว อาหารเส้น และของหวาน
เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เป็นเกาะ ชาวญี่ปุ่นจึงบริโภคอาหารทะเลในปริมาณมาก ในอดีตชาวญี่ปุ่นไม่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ จนเมื่อมีการเปิดประเทศ ชาวญี่ปุ่นจึงรับวัฒนธรรมการรับประทานเนื้อสัตว์เข้ามา และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน
อาหารเส้นก็เป็นอาหารที่สำคัญประเภทหนึ่งในอาหารญี่ปุ่น อาจรับประทานเป็นอาหารจานเดียว จัดสำรับแทนข้าว หรือจัดคู่กับข้าวเลยก็ได้ อาหารเส้นที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ โซบะ (เส้นเล็กสีน้ำตาล ทำจากแป้งบัควีท) และอุด้ง (เส้นหนาสีขาว ทำจากแป้งสาลี) อาหารเส้นสามารถรับประทานแบบร้อนและเย็น คู่กับน้ำซุปที่ทำจากดะชิผสมโชยุ อาหารเส้นอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาคือ ราเม็ง ซึ่งเป็นบะหมี่ในน้ำซุปแบบจีนที่ทำจากเนื้อสัตว์ และปรับปรุงโดยชาวญี่ปุ่นจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง

อาหารญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยม[แก้]

อาหารจานหลัก (主食 shushoku)[แก้]

ข้าว (御飯 gohan)[แก้]

ตั้งแต่ชาวญี่ปุ่นรู้จักการทำนาเมื่อ 2,000 พันปีที่แล้ว ข้าว ก็เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น ความสำคัญของข้าวต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น สะท้อนได้จากในอดีต ข้าวถูกใช้เหมือนเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าและเครื่องแสดงความมั่งคั่ง คำว่าข้าว ในภาษาญี่ปุ่น คือ โกะฮัง (御飯 gohan) และ เมะชิ (飯 meshi) (นิยมใช้เฉพาะผู้ชาย) เมื่อจะบอกว่ารับประทานอาหาร ชาวญี่ปุ่นจะบอกว่ากินข้าว ซึ่งหมายถึงมื้ออาหารนั่นเอง เช่น 朝ご飯 (asagohan) แปลตามตัวได้ว่า ข้าวเช้า หรือหมายถึง อาหารเช้า
ข้าวญี่ปุ่นมีเมล็ดสั้น และเมื่อสุกแล้วจะเหนียวเล็กน้อย ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานข้าวขาว (白米 hakumai) คือข้าวที่ถูกขัดสีจะไม่เหลือเยื่อหุ้มเมล็ดอยู่เลย ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เชื่อว่าข้าวกล้อง (玄米genmai) หรือข้าวที่ยังมีเยื่อกหุ้มเมล็ดติดอยู่นั้นอร่อยน้อยกว่า แต่ข้าวกล้องก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
นอกจากนี้ข้าวธรรมดาแล้ว ชาวญี่ปุ่นยังนิยมรับประทานโมจิ (餅 mochi) ซึ่งทำจากข้าวเหนียว นำไปทำให้สุกและทุบจนเหนียวเป็นก้อน นำไปปรุงได้ทั้งของคาว (ใส่ซุป) และของหวาน (ปิ้งรับประทานกับซอสหวาน หรือกับถั่วแดงกวน)
ข้าวยังสามารถนำประกอบอาหารต่างๆได้อีกหลายชนิด เช่น ซูชิ (寿司 sushiดงบุริ (丼 donburiโจ๊ก (お粥 okayuเซ็มเบ (煎餅 senbeiวะงะชิ (和菓子 wagashi) และสาเก (酒 sake) เป็นต้น

อาหารเส้น (麺類 men-rui)[แก้]

อาหารเส้นอาจรับประทานเป็นอาหารจานเดียว จัดสำรับแทนข้าว หรือจัดคู่กับข้าวเลยก็ได้ อาหารเส้นที่เป็นที่รู้จักกันดี สามารถรับประทานแบบร้อนในน้ำซุป หรือแบบเย็นจุ่มซอสก็ได้

ขนมปัง (パン pan)[แก้]

ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมการรับประทานขนมปังมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาขนมปังจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และนิยมรับประทานกันโดยทั่วไป คำว่าขนมปังในภาษาญี่ปุ่นคือพัง (ญี่ปุ่นパン pan ?) ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส

กับข้าว (おかず okazu)[แก้]

กับข้าว (おかず okazu) ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันทั่วไป มีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น
  • อาหารต้มหรือตุ๋น (煮物 nimono)
  • อาหารผัด (炒め物 itamemono)
  • อาหารทอด (揚げ物 agemono)
  • อาหารย่าง หรือทอดบนกระทะแบน (焼き物 yakimono)
  • อาหารนึ่ง (蒸し物 mushimono)
  • ซะชิมิ (刺身 sashimi)
  • ซุป (吸い物 หรือ 汁物 suimono หรือ shirumono)
  • อาหารหมักดอง หรือยำ (漬け物 หรือ 和え物 หรือ 酢の物 tsukemono หรือ aemono หรือ sunomono)

ขนมหวาน (お菓子 okashi) และของทานเล่น (お八つ oyatsu)[แก้]

  • วะงะชิ (和菓子 wagashi) : ขนมหวานแบบญี่ปุ่น
  • ดะงะชิ (駄菓子 dagashi) : ขนมหวานแบบญี่ปุ่นโบราณ
  • โยงะชิ (洋菓子 yōgashi) : ขนมหวานแบบตะวันตก
  • คะชิปัง (菓子パン kashi pan) : ขนมปังแบบหวาน

โยโชะกุ (อาหารแบบตะวันตก)[แก้]

ข้าวแกงกะหรี่หมูทอด (カツカレーkatsu karē) จากร้านในกรุงโตเกียว
ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันบริโภคอาหารแบบตะวันตกกันอย่างแพร่หลาย อาหารแบบตะวันตกหลายชนิดถูกคิดค้นขึ้นในระหว่างช่วงสิ้นสุดการปิดประเทศ หรือซะโกะกุ และช่วงต้นของการปฏิรูปสมัยเมจิ เมื่อค.ศ. 1868 กระแสวัฒนธรรมต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโลกตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นด้วย ภัตตาคารในหัวเมืองต่างๆเริ่มเสิร์ฟอาหารตะวันตก โดยเรียกอาหารนั้นว่า โยโชะกุ (洋食 yōshoku) ซึ่งย่อมาจากคำว่าอาหารตะวันตก (西洋食 seiyōshoku) และเรียกภัตตาคารที่ขายอาหารตะวันตกว่า ยูโชะกุยะ (洋食屋 yōshokuya) หรือภัตตาคารอาหารตะวันตก
โยโชะกุจากเมื่อครั้งแรกเริ่มจนถึงปัจจุบันได้รับการประยุกต์ให้เข้ากับชาวญี่ปุ่นจนถือว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารญี่ปุ่นไปโดยปริยาย ชาวญี่ปุ่นบริโภคโยโชะกุอย่างมากในชีวิตประจำวัน ทั้งที่ขายในภัตตาคารและทำรับประทานกันเองในครอบครัว โยโชะกุหลายชนิดนิยมรับประทานกับข้าวและซุปมิโสะ และรับประทานด้วยตะเกียบ อย่างไรก็ตาม ชาวญี่ปุ่นยังคงแยกอาหารประเภทนี้ว่าเป็นอาหารแบบตะวันตก หรือโยโชะกุ และเรียกอาหารแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมว่า วะโชะกุ (和食 washoku)

ร้านอาหารใน เวียงจันทน์


มาเที่ยวลาวทั้งที เรื่องของอาหารการกิน ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สำคัญนะครับ ร้านอาหารที่ลาวนั้นก็มีมากมายครับ ใช่ครับ..เพื่อนๆ สามารถเลือกร้านอาหารได้ตามใจชอบครับ แต่การที่เราเดินทางมาเที่ยวต่างเมืองที่ไม่ค่อยจะคุ้นเท่าไหร่นั้น ก็ถือว่ายากพอสมควรครับที่จะหาร้านดีๆ เพื่อให้การเดินทางครบรสชาติ คือ เที่ยวที่ดีๆ อาหารที่ดีๆ ที่พักที่ดีๆ 

เราจึงขอแนะนำเรื่องของอาหารการกิน ที่ต้องหาร้านที่โอเคหน่อย และเรื่องของชื่อเสียงนั้นต้องการันตี ราคาก็ต้องเหมาะสมครับ การท่องเที่ยวถึงจะครบรส  สำหรับนักกินแล้วยิ่งไม่ควรพลาดครับ เพราะเราเลือกร้านอาหาร ที่ขึ้นชื่อ ราคาพอสมควร และน่าจะถูกปากคนไทย กัน  ไปดูกันครับ

ร้านอาหารใน  เวียงจันทน์
ร้านขอบใจเด้อ 


เป็นร้านอาหารกึ่งบาร์ครับ ตกแต่งด้วยอาคารทรงcolonial แต่เดิมนั้นมีไม้เลื้อยเกาะดูเท่ๆขลังๆ มีอาหารให้เลือกทั้งแบบ ฝรั่ง (เบอร์เกอร์ สเต็ก สปาเกตตี้) อาหาร ลาว (ชุดน้ำพริก หมูย่าง เนื้อย่าง แหนม ปอเปิ๊ยะ) ไทย (ผัดไท ผัดซีอิ๊ว) จีน (ผัดหมี่ซั่ว) ให้เลือกรับประทานได้ตามใจชอบเลยครับ แนะนำ ยำแหนมกุ้งทอด-แหนมหมู” ในชื่อ Fusion Lao Snack อร่อยดีครับ โดยเฉลี่ยอาหารจานละ 80 -160 บาท และเป็นแนวสปาเก็ตตี้ และสเต็กจะเริ่มต้นที่จานละ 180-220 บาท



ร้านเฝอแซ่บ  

ร้านที่มีสาขาในเวียงจันทน์ถึง สาขา ขายดีมากๆ (คนลาวเรียก ก๋วยเตี๋ยวรวมๆว่า เฝอ) มี เฝอหมู เฝอเนื้อ ถ้วย (อย่าเรียก ชาม” ล่ะ ภาษาลาว จะหมายถึง กาละมัง) ถ้วยน้อย ถ้วยโต และถ้วยจัมโบ้ แต่ว่า แค่ถ้วยน้อยก็ใหญ่เท่ากับบะหมี่บ้านเราที่กินกัน ประมาณเกือบเท่าครึ่งอยู่แล้วครับ แนะนำให้คุณผู้ชายกินถ้วยโตจะพอดีสองเท่ากำลังอิ่ม ร้านจะมีผักสารพัดมาให้คนละถาดและเครื่องจิ้มรสชาติเหมือนน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ หมูและเนื้อย่างในเฝอ ย่างมาหอมนุ่มดีครับ ราคา80-160 บาท ต่อถ้วย


ร้านนางคำบาง 

   
ร้านนี้เป็นร้านอาหารพื้นเมืองลาวแท้ๆเลย ถ้าชอบอาหารพื้นเมือง ปิ้ง ย่าง เน้น เนื้อและกบ ก็คงจะเพลิดเพลินล่ะ สำหรับคนที่ชอบรสชาติกลางๆ (และไม่กินกบ) ก็แนะนำ ข้าวคั่ว (ข้าวผัด) ผัดขนมจีน (ผัดก๋วยเตี๋ยวใส่เห็ดหูหนู ผัก แล้วโรยด้วยข้าวตังกรอบ) ไส้อั่ว(หรือไส้กรอก) โดยที่ไส้กรอกรสชาติกลางๆระหว่างไส้อั่วภาคเหนือของไทยกับไส้กรอกอีสานภาคอีสานเรา จึงออกมาแบบมันๆหอมและไม่รสจัดมาก ร้านนี้ มีตรา แม่ช้อยนางรำ” ด้วยล่ะ

ร้าน Mix น้ำพุ 


ร้านนี้ตั้งอยู่บริเวณ ศูนย์กลางของเมือง มี สวนน้ำพุที่สวยงาม เป็นแหล่งรวมร้านอาหารตอนกลางคืน มีดนตรีสดที่ร้องเพลง ไทย จีน ฝรั่ง (เพลงสมัยใหม่) มีทีวีจอยักษ์ฉายบอล ซึ่งที่สวนนี้มีร้านอาหารหลากหลาย ทั้ง ฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี แนะนำ Mix ซึ่งราคาเหมาะสมดีแนะนำ บาร์บีคิวไก่ ต้มยำไก่ลาด(ไก่บ้าน) หรือ ต้มยำทะเล รสชาติเข้มข้นอีกแบบ (เหมือนต้มยำ+เครื่องแกง) ผมสั่งแบบไม่ใส่ปลาแดกนะครับ มียำต่างๆ ที่คนไทยกินได้ (ระวังความเผ็ดด้วย) ราคาต่อคนเฉลี่ย 120-180 บาท



ร้าน Scandinavian Bakery  


ตั้งอยู่ถัดจากสวนน้ำพุไปด้านหลัง (จากป้ายสวนน้ำพุ ทะลุไปด้านหลังทางมุมซ้าย) เป็นร้านขายกาแฟ เค้ก ที่โด่งดัง และยังขาย อาหารแนว American Breakfast เบอร์เกอร์ แซนด์วิช พายผักขม อีกด้วย เค้กแต่ละชิ้นราคา 60 – 120 บาท เบอร์เกอร์และแซนด์วิชราคา 140 บาท (โดยประมาณ)


ร้าน Joma Coffee & Bakery  

อยู่เยื้องด้านหน้าของ สวนน้ำพุ เป็นร้านชื่อดัง มีสาขาทั้งใน หลวงพระบางและเวียงจันทน์ เครื่องดื่มกาแฟ ช็อคโกแล็ต และมิลก์เชค รสเข้มข้นมาก ชีสเค้กรสนุ่มลิ้น ครีมพายก็เต็มไปด้วยครีมนม อร่อยแทบทุกอย่าง เครื่องดื่ม และเค้ก ราคาเริ่มต้นที่ 80 บาท


 

อาหารเวียดนาม

อาหารเวียดนามเป็นอาหารประจำชาติของชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นของตัวเอง ชาวเวียดนามกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาติอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใช้เครื่องปรุงรสที่เป็นของหมักดองเช่นเดียวกัน เนื่องจากปูมหลังทางประวัติศาสตร์ที่เคยถูกจีนและฝรั่งเศสปกครอง จึงมีอิทธิพลของทั้งสองชาติปรากฏอยู่บ้าง นอกจากนั้นเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่ง ทำให้อาหารเวียดนามแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน อาหารเวียดนามที่คนไทยรู้จักดีและเป็นเอกลักษณ์คือแหนมเนืองและขนมเบื้องญวน

อาหารหลัก[แก้]

บั๊ญจึง
ชาวเวียดนามกินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก แต่ก็รับประทานข้าวเหนียวด้วย อาหารที่ปรุงด้วยแป้ง และมีไส้ รวมถึงขนมปังฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเรียกว่า "บั๊ญ" (bánh) อาหารที่ปรุงด้วยข้าวเหนียวที่เป็นที่นิยมในเวียดนามได้แก่
  • บั๊ญจึง (bánh chưng) ข้าวต้มไส้ถั่ว ห่อด้วยใบตองเป็นรูปสี่เหลี่ยม
  • บั๊ญเส่ย (bánh giầy) ข้าวต้มไส้ถั่ว ห่อด้วยใบตองเป็นรูปทรงกลม เสิร์ฟคู่กับหมูยอ
  • บั๊ญกาย (bánh gai) ขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดกับใบป่านจนดำ ไส้ทำจากถั่ว
ชาวเวียดนามมีอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากก๋วยเตี๋ยวของจีน เรียกว่า "เฝอ" (phở) ซึ่งได้ปรับปรุงจนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ขนมจีนในภาษาเวียดนามเรียก "บู๊น" (bún) ซึ่งมีรูปแบบการปรุงที่หลากหลาย เช่น
  • บู๊นถิตเนื้อง (bún thịt nướng) ขนมจีนหมูย่าง
  • บู๊นบ่อ (bún bò) ขนมจีนหน้าเนื้อ
  • บู๊นบ่อเฮว้ (bún bò Huế) เป็นขนมจีนน้ำใส่เนื้อวัวหรือเนื้อหมู เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของเมืองเว้
บู๊นบ่อเฮว้
เฝอไก่

เอกลักษณ์[แก้]

อาหารเวียดนามเป็นอาหารที่กินผักสดหลากหลายชนิดในแทบทุกเมนู และมีน้ำจิ้มที่หลากหลาย เครื่องปรุงรสส่วนใหญ่เป็นแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าจีน เช่น เครื่องปรุงรสเปรี้ยวใช้มะขาม มะนาว ไม่นิยมน้ำส้มสายชู เครื่องปรุงรสเค็ม ส่วนใหญ่เป็น น้ำปลา น้ำกะปิ รองลงไปเป็นกะปิ ปลาร้า กุ้งจ่อม ใช้ซีอิ๊วแบบจีนน้อยมาก

อาหารแต่ละภูมิภาค[แก้]

  • อาหารเวียดนามภาคเหนือ มีอิทธิพลของอาหารจีนปรากฏชัดกว่าภูมิภาคอื่น มีแกงจืดแบบจีน และการผัดแบบจีนแพร่หลายมากกว่าภาคอื่นๆ
  • อาหารเวียดนามภาคกลาง ศูนย์กลางอยู่ที่เว้ มีอิทธิพลของอาหารในวังปรากฏชัดเจนมาก และมีรสเผ็ดมากกว่าอาหารภาคอื่น
  • อาหารเวียดนามภาคใต้ มีอิทธิพลของอาหารอินเดียและอาหารกัมพูชาปรากฏมากกว่า ใช้ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่หลากหลายกว่า